วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อาหาร โภชนาการสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

รับประทานอาหารให้ครบ  5 หมู่  สำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรทานอาหารให้ได้รับสารอาหาร คือ คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ และน้ำอย่างเพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย ขณะตั้งครรภ์หลักในการรับประทานอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ทานอาหารอย่างถูกสัดส่วน ในแต่ละมื้อ คือ ควรเป็นอาหารประเภทแป้งไม่ขัดขาว 50 % ผักต้ม ผักสด และผลไม้ 25% ถั่งเหลืองหรือโปรตีนจากพืชและสัตว์ 15% งา และเมล็ดธัญพืช 10%
ไตรมาสที่ 1ความต้องการใน ช่วง 3 เดือนแรก ไม่ควรทานอาหารในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพราะในระยะนี้ทารกเริ่มก่อตัว มีขนาดนิดเดียว แต่ควรเพิ่มสารอาหารที่จำเป็น เช่น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ วิตามิน เกลือแร่ และกรดโฟลิกจากผักใบเขียว ส้ม และกล้วยให้มาก เพื่อป้องกันภาวะพิการทางสมอง ความเจริญยังไม่มาก อย่าทานแป้ง ไขมันมากเกินไป จะทำให้อ้วน ควรจะได้รับน้ำมันหรือน้ำกะทิวันละ 2-3 ช้อนโต๊ะเท่านั้น
 เดือนที่ 3 น้ำหนักควรเพิ่มประมาณ 1-2 กิโลกรัม ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำหนักของแม่กับร่างกายที่เปลี่ยนไป เช่น ส่วนขยายของเต้านม มดลูก รก น้ำคร่ำ และปริมาณเลือด เป็นน้ำหนักของทารกแค่ 48 กรัม ถ้าแม่มีน้ำหนักเพิ่มมากในระยะนี้จะเป็นปัญหาแก่แม่หลังคลอดแล้ว คือ อ้วน และลดน้ำหนักลงได้ยากในช่วง 3 เดือนแรก ลูกไม่ได้รับสารอาหารผ่านทางรก แต่ได้รับสารอาหารจากถุงไข่แดง (ถุงอาหาร)ซึ่งอยู่ในมดลูกแทน พอผ่าน 3 เดือนไปแล้วถุงไข่แดงจะถูกใช้หมดไปเรื่อยๆแต่รกจะเริ่มทำงานส่งอาหารแทนถุงไข่แดง ปริมาณอาหารที่รับประทานแต่ละวันของช่วงไตรมาสแรกควรเป็นน้ำนม 2-3 แก้ว/วัน ไข่ 2-3 ฟองต่อ/สัปดาห์ เนื้อสัตว์ 1-2 ขีด/วัน ผักสดและผักลวก 1-2 ทัพพีทุกมื้อ ผลไม้หลากชนิด 3 ถ้วยต่อวันข้าวให้ทานเท่าเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์ และควรเป็นข้าวซ้อมมือและถั่วเมล็ดแห้งบ้าง                                                                                                                                                          
ไตรมาสที่ 2ทารกในครรภ์เริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยพัฒนา ร่างกายส่วนต่างๆให้สมบูรณ์ ตอนนี้คุณแม่ต้องการอาหารในปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะโปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียมฟอสฟอรัส ไอโอดีน สังกะสี โฟแลท  เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้นแม่ยิ่งต้องการออกซิเจนมากขึ้น เพื่อส่งต่อไปยังลูกน้อยที่เติบโตมากขึ้น ตัวที่จะพาออกซิเจนคือ ธาตุเหล็กในเม็ดเลือด แม่ควรได้รับธาตุเหล็กวันละ 15 มิลลิกรัม และได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ เพราะวิตามินซี จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี เส้นใยอาหาร ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมน    โปรเจสเตอโรนในร่างกายของคุณแม่เพิ่มขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องหย่อนลง ทำให้ท้องผูกได้ รวมทั้งทำให้เกิดความเครียด เป็นผลถึงความดันโลหิตสูง หัวใจถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น เส้นเลือดขอด อาหารที่มีเส้นใยมาก และการดื่มน้ำมากๆ วันละ 7-8 แก้วจะช่วยให้ขับได้ดี วิตามีนดี เพื่อใช้ในการดูดซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในการสร้างกระดูก และแสงแดดอ่อนๆในตอนเช้า เย็น น้ำหนักควรเพิ่มมาอีกสัก 4-5 กิโลกรัม หากเข้าเดือนที่ 5 น้ำหนักแทบไม่ขึ้นหรือกลับลดลง ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ                                                                                                                                                                                                           
ไตรมาสที่ 3คุณแม่ต้องการพลังงานจากสารอาหารมากขึ้นจากเดิมอีก 200 แคลลอรี่ ควรได้รับอาหารและบำรุงร่างกายเต็มที่ อย่าลืมอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น ผักและผลไม้  นอกจากนั้นพบว่าครรภ์ของแม่มีขนาดใหญ่ขึ้น ภายในช่องท้องคับแคบ จึงไม่สามารถทานอาหารครั้งละมากๆ จึงควรเพิ่มมื้ออาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น