วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คุณแม่ควรรู้ เตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อสุขภาพของลูกน้อยในอนาคต

            เป็นการดีที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีแพทย์จะแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิกเป็นประจำและให้หยุดรับประทานยาคุมกำเนิดก่อนการตั้งครรภ์ 3 เดือนแพทย์จะแนะนำวันที่เหมาะสมจะมีเพศสัมพันธ์และมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์สูง หญิงวัยที่พร้อมจะมีบุตรควรดูแลตัวเองให้พร้อมที่จะมีบุตรโดยเฉพาะการดูแลก่อนการตั้งครรภ์ เนื่องจากว่าความพิการของเด็กบางครั้งอาจจะเกิดก่อนการตั้งครรภ์เนื่องจาการติดเชื้อ โรคของมารดา ขาดสารอาหาร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเพื่อได้ทารกที่สมบูรณ์ควรเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ดังนี้

  • การได้รับ Folic acid เป็นประจำ
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิต
  • การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

Folic acid มีประโยชน์อะไร

ก่อนการตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกหญิงมีครรภ์ควรได้รับ folic acid เนื่องจากวิตามินนี้สามารถป้องการความทางสมองและประสาทไขสันหลังได้ (called neural tube defects {NTDs}] และยังป้องกันปากแหว่ง และเพดานโหว่ได้ แนะนำให้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ได้รับอาหารที่มีคุณภาพ และอุดมไปด้วย folic acid เช่น น้ำส้ม ผักใบเขียว ถั่ว ธัญพืช และควรได้รับเสริมวันละ 4 มิลิกรัมก่อนการตั้งครรภ์ 1 เดือนจน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

ประโยชน์ที่จะได้รับของการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์
  1. สำหรับผู้ที่เคยแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนดแพทย์จะหาสาเหตุเพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปสมบูรณ์
  2. ตรวจหาโรคติดเชื้อที่สามารถจะถ่ายจากแม่ไปหาลูกเช่น
  • Rubella:(German measles) หรือหัดเยอรมันผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนและไม่เคยเป็นโรคหัดเยอรมันควรได้รับการฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์ สำหรับผู้ไม่แน่นใจว่าเคยเป็นโรคหัดเยอรมัน หรือเคยฉีดวัคซีนหรือไม่อาจจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันและให้คุมกำเนิดหลังจากฉีด 3 เดือน
  • Hepatitis B ไวรัสตับอักเสบ บี แนะนำให้ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทุกราย เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อควรได้รับการรักษาทุกราย สำหรบมารดาที่ยังไม่มีภูมิ หรือไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แนะนำให้ฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์
  • Chickenpox ไข้สุกใสผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคนี้ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สุกใส และให้คุมกำเนิดหลังฉีด 3 เดือน
  • Toxoplasmosisเกิดจากเชื้อปาราสิตที่ปนในอาหารดิบๆ
  1. โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่น
  • Thalassemia โรคที่เม็ดเลือดแดงแตกง่ายถ่ายทอดทางพันธุกรรมหากพ่อและแม่มีพันธุกรรมแฝงอยู่ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรค
  • Sickle-cell disease และTay-Sachs disease เกิดในเชื้อชาติอื่น
  1. โรคของมารดาที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวาน หากไม่สามารถคุมน้ำตาลให้ดีเด็กที่เกิดมามีโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้
  • ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน
  • โรคลูปัส Systemic lupus erythematosus (SLE)ผู้ป่วยที่มีโรคนี้จะมีโอกาสทีจะแท้ง หรือคลอดก่อนกำเนิดสูง ควรจะปลอดจากอาการของโรคอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการตั้งครรภ์
  • โรคลมชัก Seizures ยาบางชนิดอาจมีผลต่อเด็กดังนั้นต้องแจ้งแพทย์เพื่อปรับยาก่อนการตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นประจำ ควรแจ้งแพทย์ถึงชื่อยา และขนาดยาที่ใช้เนื่องจากยาบางชนิดมีผลต่อเด็ก

คุณพ่อคุณแม่จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิตอย่างไรบ้าง
  • หยุดสุราโดยเด็ดขาดเนื่องจากสุราจะทำให้เด็กเกิดมามีความพิการได้
  • หยุดสูบบุหรี่ และยาเสพติดเนื่องจากเด็กที่เกิดมาจะพิการและมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
  • หยุดการอาบน้ำร้อน หรือการซาวน่าในช่วงแรกการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดความพิการทางสมอง NTDs
  • ให้ดื่มกาแฟน้อยกว่าวันละครึ่งแก้วเนื่องจาก caffeine จะทำให้แท้งได้
  • งดการสัมผัสแมวหรือรับประทานอาหารดิบเพราะอาจจะเกิดการติดเชื้อ
  • ห้ามสวนช่องคลอดเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น