วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิคสร้างลูกฉลาดตั้งแต่ในครรภ์

คุณแม่ทุกท่าน ย่อมต้องการให้ลูกที่เกิดมาเป็นเด็กฉลาดทั้งทางสติปั ญญาและอารมณ์ ถึงแม้ว่าเรื่องของกรรมพันธุ์จะเป็นปัจจัยหนึ่งต่อคว ามเฉลียวฉลาดของลูก แต่ก็ยังมีเรื่องของอาหารของคุณแม่ตั้งแต่ขณะ ตั้งครรภ์และของลูกภายหลังคลอด รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็กขณะที่อยู่ในท้อง และภายหลังคลอด ก็เป็นส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของสมองและอารมณ์ของลูกอย ่างต่อเนื่องค่ะ
ลูกเป็นอย่างไร ในแต่ละช่วงช่วง 1-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เป็น ช่วงของการเริ่มต้นสร้างอวัยวะ กล้ามเนื้อต่างๆ และเซลล์ประสาทของลูกน้อย ช่วงนี้คุณแม่จะต้องดูแลเรื่องอาหาร ยา และหลีกเลี่ยงสารพิษ เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 3 ทารกจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกที่มากระทบได้แล ้ว ลูกจะดิ้นไปมาอยู่ในท้อง แต่แม่จะยัง ไม่ค่อยรู้สึกเพราะขนาดตัวของลูกยังเล็กมาก

ช่วง 4-6 เดือนของการตั้งครรภ์ ประสาทสัมผัสทางการได้ยินเริ่มพัฒนา ทารก จะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจและเสียงของแม่ จำนวนเซลล์ของระบบประสาทเพิ่มมากขึ้น ทำให้ทารกเริ่มจดจำเสียงของคุณแม่ได้ และยังมีการเชื่อมต่อระหว่างระบบประสาทกับระบบกล้ามเ นื้อ ทารกสามารถเคลื่อนไหวแขนและขาตามจังหวะของ ข้อพับ กำมือ ยืดตัว หรือพลิกตัวได้แล้ว


ช่วง 7-9 เดือนของการตั้งครรภ์ เมื่อ ลูกรู้สึกว่าภายนอก มีเสียงดัง หรือหากคุณแม่กินอาหารผิดเวลา ลูกจะสื่อความต้องการ หรือตอบโต้ด้วยการดิ้น เตะ ถีบ ระบบประสาทในการมองเห็นพัฒนา รูม่านตาจะเริ่มขยายหรือหรี่ได้ แม้จะอยู่ในถุงน้ำคร่ำ ทารกก็สามารถรับรู้ต่อแสง ความมืด ความสว่างได้ และสมองของทารกช่วงนี้ เป็นระยะที่มีการขยายตัวของเซลล์และรอยหยักมากขึ้น เด็กจะมีความจำมากขึ้น


ส่งเสริม 4 พัฒนาการให้ลูกในท้อง
ขณะที่ทารกอยู่ ในครรภ์ ระบบประสาทส่วนต่างๆ ของลูกเริ่มทำงาน สามารถรับรู้และตอบสนองกับสิ่งกระตุ้นจากภายนอกท้องแ ม่ได้ โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ 4 เดือนไปแล้ว คุณแม่และคุณพ่อจึงสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก ได้ ดังนี้

1. ด้าน อารมณ์
คุณ แม่ที่อารมณ์ดีอยู่เสมอจะทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีทั้ งสมอง (IQ) และอารมณ์ (EQ) ในทางตรงกันข้าม คนที่มีอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย จะทำให้ลูกคลอดออกมาเป็นเด็กงอแง เลี้ยงยาก พัฒนาการช้า ดังนั้นระหว่างตั้งครรภ์ควรปรับอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ ไม่เครียด อาจฟังเพลงหรืออ่านหนังสือเพื่อช่วยในการผ่อนคลายอาร มณ์


2. ด้าน การมอง
ออก ไปยืนรับแสงแดดอ่อนๆ นอกบ้านช่วงเช้าหรือบ่าย ควรเลือกแสงที่มีความสว่างไม่จ้าจนเกินไป นอกจากนี้ การใช้ไฟฉายส่องที่หน้าท้องก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้เซล ล์สมองและเส้นประสาท ส่วนรับภาพและ การมองเห็นของทารกมีพัฒนาการดีขึ้นและเตรียมพร้อมสำห รับ การ มองเห็นภายหลังคลอด


3. ด้าน การได้ยิน
หมั่น พูดคุยกับลูกในท้องบ่อยๆ ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ใช้ประโยคซ้ำๆ เพื่อให้ลูกคุ้นเคย จะช่วยให้ระบบประสาทและสมองที่ควบคุมการได้ยินมีพัฒน าการที่ดีและเตรียม พร้อมสำหรับการได้ยินหลังคลอด


นอกจากนี้ การร้องหรือเปิดเพลงให้ลูกฟังบ่อยๆ โดยเฉพาะเพลง ที่มีความไพเราะและคุณแม่ชอบฟัง ซึ่งการใช้เสียงกระตุ้นจะทำให้ การได้ยินของลูกมีพัฒนาการดีขึ้น ช่วงเวลาที่เหมาะในการฟังเพลง ควรเป็นช่วงหลังมื้ออาหาร เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกตื่นตัวมากที่สุด ควรเปิดเสียงเพลงให้อยู่ห่างจาก หน้าท้องประมาณ 1 ฟุต และเปิดเสียงดังพอประมาณเพื่อลูกในท้องจะได้ฟังเสียง เพลงไปด้วย คลื่นเสียงจะไปกระตุ้นให้ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับ การได้ยินมีการพัฒนา ระบบการทำงานได้เร็วขึ้น ทำให้เมื่อลูกคลอดออกมาจะมีความสามารถในการจัดลำดับค วามคิดในสมอง รู้สึกผ่อนคลาย และจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดี

4. ด้าน การสัมผัส
การ ลูบไล้หน้าท้องบ่อยๆ จะกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกของล ูกให้มีพัฒนาการที่ดี ขึ้น คุณแม่ควรลูบหน้าท้องเป็นวงกลมจากบนลงล่างหรือจากล่า งขึ้นบน บริเวณไหนก่อนก็ได้ โดยขณะที่สัมผัสอาจร้องเพลงหรือพูดคุย ไปด้วย ยิ่งถ้าทำในช่วงเวลาเดิมเป็นประจำจะรู้สึกได้ว่าเมื่ อถึงช่วงเวลานั้น ลูกจะดิ้นรออยู่แล้ว


นอกจากการลูบไล้หน้าท้องแล้วการออก กำลังกายเบาๆ หรือการเดินเล่น จะทำให้ลูกในท้องมีการเคลื่อนไหว ตามไปด้วย และผิวกายของลูกจะไปกระแทกกับผนังด้านในของมดลูก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสของลูกให้พัฒนาได้ ดีขึ้น ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อห น้าท้องค่ะ


ขอบคุณ : คุณกนกกาญจน์ ปานเปรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น